สิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มต้นธุรกิจ Fitness

Gym Business

-ธุรกิจ Fitness ทำยากไหม ?

-ธุรกิจ Fitness รายได้ดีไหม ?

-ธุรกิจ Fitness ต้องใช้เงินเท่าไหร่ ?

หลากหลายคำถามเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อคุณเริ่มเข้าถึงการออกกำลังกายแบบจริงจัง และคิดว่ามันเป็นหนึ่งช่องทางที่สามารถทำกำไรได้ แต่การที่เรารักในการออกกำลังกายอย่างเดียว คงไม่เพียงพอในการนำมันมาพัฒนาให้เป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้ เพราะอย่าลืมว่าองค์ประกอบในการทำธุรกิจนั้นมีค่อนข้างหลากหลาย อย่างเช่น ด้านสินค้าและบริการ ด้านการเงิน หรือด้านการตลาด

และมันอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับผู้ที่ไม่เคยศึกษาเบื้องลึกของธุรกิจ Fitness

ดังนั้นบทความนี้จะเป็น แนวทางเริ่มต้นสำหรับผู้ที่ต้องการประกอบธุรกิจ Fitness โดยเนื้อหาจะคลอบคลุมข้อมูลโดยรวมที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้ก่อนที่จะเริ่มต้นธุรกิจนี้ และสุดท้ายมันจะช่วยคุณในการตัดสินใจว่าควรจะเริ่มต้นธุรกิจนี้หรือไม่

ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลย

ใครเหมาะกับธุรกิจ Fitness ?

ผมแนะนำให้เริ่มที่การสำรวจตัวเองกันก่อนครับ เพราะคนที่จะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ Fitness ได้ นั้นจะต้องรักและหลงใหลในการออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพอย่างแท้จริง เพราะคุณต้องใช้เวลาทั้งหมดในการดำเนินธุรกิจของคุณ ไปกับสิ่งเหล่านี้ เช่น การเลือกเครื่องออกกำลังกาย หรือ การคัดเลือกคนที่จะมาเป็นเทรนเนอร์

ธุรกิจนี้จึงอาจจะไม่เหมาะกับคนที่ไม่มีความรู้เรื่องการออกกำลังกายมาก่อน หรือต้องการตารางเวลาที่ยืดหยุ่น  

ซึ่งผมมี Check lists มาให้สำรวจตัวเองครับว่า คุณพร้อมกับธุรกิจนี้หรือยัง

  • มีความหลงใหลในการออกกำลังกายและการรักษาสุขภาพ
  • พร้อมสละเวลามาดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเริ่มต้น  
  • มีทักษะบริหารจัดการคนที่ดี
  • เข้าใจรายได้และค่าใช้จ่ายของธุรกิจ พร้อมกับความรู้ด้านการทำบัญชี
  • มีพื้นฐานด้านการตลาด (ถึงแม้จะสามารถจ้างผู้เช่ียวชาญได้ก็ตาม) 

ถ้าคุณได้ติ๊กเครื่องหมายถูกในทุกข้อ หรือมากกว่าครึ่ง ก็ยินดีด้วยครับ คุณน่าจะพร้อมสำหรับการเป็นเจ้าของธุรกิจ Fitness แล้ว

“You’ve got to understand how this industry is really capable of changing people’s lives.”  Stephen Sharkey

กลุ่มลูกค้าของธุรกิจ Fitness หน้าตาเป็นอย่างไร ?

แน่นอนว่าพวกเขาต้องมา เพื่อออกกำลังกาย แต่จุดประสงค์และเป้าหมายของพวกเขาก็จะแตกต่างกันไป เช่น บางคนออกกำลังกายเพียงเพื่อลดน้ำหนักอย่างเดียวเท่านั้น ในขณะที่อีกคนต้องการที่จะได้รูปร่างในฝันของตัวเอง และอาจจะต้องการเทรนเนอร์ส่วนตัวเพื่อผลักดันพวกเขาให้ไปถึงเป้าหมายนั้น

เครดิตรูปภาพ : Unsplash 

ซึ่งไม่ว่าจะเป็นลูกค้ารูปแบบไหน ในมุมผู้ประกอบการ ภารกิจของเราคือต้องตอบโจทย์เป้าหมายพวกเขามากที่สุด เพื่อที่สุดท้ายพวกเขาจะรักการออกกำลังกาย และตกลงสมัครสมาชิกกับเราในระยะยาว

และในทางตรงกันข้าม ลูกค้าที่ไม่ใช่ สำหรับธุรกิจ Fitness จะเป็นกลุ่มคนที่เข้ามาสมัครสมาชิก และหลังจากนั้นไม่นานก็ต้องการจะยกเลิกสมาชิก ซึ่งอาจจะเป็นอย่างเช่น คนที่ออกกำลังกายตามเทรนด์ ตามเพื่อน หรือแค่อยากมาทดลองเล่นเท่านั้น แต่ Gym ส่วนใหญ่มักแก้ปัญหาด้วยการ คิดค่าธรรมเนียมการยกเลิก มีราคาแบบรายวัน (แต่รายเดือนจะถูกกว่ามาก) หรือ คิดค่าแรกเข้า ป้องกันการยกเลิก  

ธุรกิจ Fitness ได้เงินจากทางไหนบ้าง ? 

ในแต่ละปี ผู้คนหลักล้านเลือกสมัครสมาชิกกับ Gym ซึ่งแน่นอนว่าเบสิคของรายได้นั้นก็มาจาก ค่าสมัครสมาชิกรายปี รายเดือน หรือ รายวัน แต่สำหรับบางที่ก็ไม่ได้มีเพียงแค่นั้น แต่พวกเขายังสามารถทำเงินด้วย บริการเสริมอื่นๆได้ อย่างเช่น

คลาสพิเศษต่างๆ 

เครดิตรูปภาพ :  Unsplash

  • โยคะ (Yoga)
  • แอโรบิค (Aerobic Class)
  • เซอร์กิต (Circuit Training)
  • มวยไทย (Thai Boxing)
  • การฝึกทักษะป้องกันตัวยูยิตสู  (Jiu Jitsu Training)
  • เต้นรำ (Dance Class)
  • ครอสฟิต (Crossfit)

โดยอาจจะเรียกเก็บลูกค้าเป็นรายครั้ง รายเดือน หรือเหมารวมกับค่าสมาชิกไปเลยก็ได้

สินค้าและบริการเสริม

  • เทรนเนอร์ส่วนตัว
  • บาร์อาหารและเครื่องดื่ม
  • ซาวน่า
  • อาหารเสริม
  • ตารางโภชนาการ

สามารถบอกได้ว่าธุรกิจ Fitness นั้นไม่ได้มีรายได้จากค่าสมัครสมาชิกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะทั้งนี้ ธุรกิจสามารถทำเงินได้จากช่องทางอื่นๆ ที่ได้ยกตัวอย่างไป ซึ่งในบางครั้งช่องทางเหล่านี้อาจจะมีสัดส่วนรายได้เท่ากับ หรือมากกว่าช่องทางหลักอย่าง ค่าสมัครสมาชิกก็ได้ครับ

ต้องใช้เงินเท่าไหร่ในการเปิด Gym ?

ถ้าถามว่าต้องใช้เงินจำนวนเท่าไหร่ในการเปิด Gym คงเป็นเรื่องยากมากที่จะตอบ เพราะมันขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย ดังนั้นการจะตอบคำถามนี้ได้ ผมแนะนำให้คุณเริ่มต้นที่การจินตนาการถึง Gym ที่คุณต้องการจะเปิดก่อน ตัวอย่างเช่น โรงยิมขนาดเล็ก รับรองคนได้ประมาณ 10-20 คน หรือโรงยิมขนาดใหญ่พร้อมแยกห้องสตูดิโอสำหรับปั่นจักรยาน ที่รับรองคนได้มากกว่า 100 คน

โดยมันจะทำให้ประมาณการได้ว่า คุณจะต้องลงทุนกับปัจจัยไหนเยอะ หรือปัจจัยไหนที่น้อย เช่น ถ้าคุณต้องการเปิด Gym ขนาดใหญ่ นั่นแปลว่าคุณก็ต้องใช้เงินจำนวนเยอะเพื่อลงทุนกับสถานที่และทำเล

แต่นอกจากนั้นแล้ว ก็มีปัจจัยอื่นๆที่ต้องคำนึงถึง โดยผมจำแนกออกมาเป็น 5 ปัจจัยที่ถือเป็นต้นทุนที่เราต้องจ่ายเมื่อเริ่มต้นธุรกิจ Fitness แต่ส่วนใหญ่จะจ่ายเพียงครั้งเดียวเท่านั้น  (One-time costs)

1. สถานที่ตั้ง – ค่าใช้จ่ายตรงนี้จะมีความแตกต่างกันในแต่ละ Gym เพราะทั้งนี้มันขึ้นอยู่กับขนาดและทำเลที่ตั้งของ Gym รวมไปถึงการตัดสินใจว่าจะเช่าหรือซื้อสถานที่นั้น โดยการเลือกสถานที่ นอกจากที่คุณจะต้องมีที่ไว้สำหรับการเวทเทรนนิ่ง และคาร์ดิโอแล้ว คุณต้องสำรองที่ไว้สำหรับพื้นที่สำหรับอำนวยความสะอวกอื่นๆด้วย เช่น ห้องอาบน้ำ ล็อกเกอร์ หรือซาวน่า

เพราะฉะนั้นก่อนที่คุณจะตัดสินใจเลือกสถานที่ ผมแนะนำให้คุณวางแผนผังและทำการสำรวจพื้นที่และทำเลให้ดีก่อน เพื่อที่คุณจะได้สถานที่ที่คุ้มค่าต่อเงินลงทุนและตอบโจทย์กับ Gym มากที่สุด  

2. อุปกรณ์ออกกำลังกาย – แน่นอนว่าเมื่อได้สถานที่ตั้งแล้ว คุณก็ต้องเปลี่ยนจากที่เปล่าๆให้กลายมาเป็นสวรรค์ของคนรักสุขภาพ ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ อุปกรณ์ออกกำลังกาย โดยอุปกรณ์พื้นฐานใน Gym ที่จำเป็นต้องมี คือ…

  • อุปกรณ์ฟรีเวทเบื้องต้น เช่น Weight bar (บาร์สำหรับเวทเทรนนิ่ง) , Power rack (แร็คยกน้ำหนัก) หรือ Dumbells set (เซ็ตดัมเบล) เป็นต้น  
  • อุปกรณ์สำหรับการคาร์ดิโอ เช่น  Treadmill (ลู่วิ่งไฟฟ้า) , Stationary Bike (เครื่องปั่นจักรยาน) หรือ Elliptical เป็นต้น

นอกจากนี้ถ้ากลุ่มลูกค้าของคุณเป็นคนที่สนใจการเพิ่มกล้ามเนื้อ คุณอาจจะจำเป็นต้องมีเครื่องออกกำลังกายเฉพาะส่วน (Isolation machine) เช่น เครื่องเล่นสำหรับท่า Chest fly , Leg press หรือ Bicep curl

แต่ทั้งนี้สัดส่วนและจำนวนของอุปกรณ์ภายใน Gym ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบและกลุ่มเป้าหมายของคุณ

สำหรับ Gym ส่วนใหญ่ อุปกรณ์ออกกำลังกายเป็นปัจจัยที่ถูกให้ความสำคัญมากที่สุด เพราะเป็นที่รู้กันว่า ลูกค้านั้นต้องการอุปกรณ์ที่ ใหม่ และหลากหลาย โดยในมุมของผู้ประกอบการเองเราก็จำเป็นเลือกหาอุปกรณ์ที่มีราคาคุ้มค่าทั้งในเรื่องของราคา คุณภาพ และควรมีอายุการรับประกันเกิน 1 ปี

ทั้งนี้ที่ Maxnumfitness เรามีอุปกรณ์ออกกำลังกายคุณภาพให้เลือกมากมาย พร้อมอายุรับประกันสินค้าถึง 3 ปี และทีมตรวจเช็คอุปกรณทุกๆ 4 เดือน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

3. การฝึกอบรมพนักงาน – การมีพนักงานมืออาชีพที่มีความรู้ด้านการออกกำลังกายและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งพวกเขาต้องสามารถให้คำแนะนำเรื่องท่าออกกำลังกายและโภชนาการที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้ ดังนั้นคุณอาจจะต้องให้พวกเขาได้รับการอบรมจากสถานบันฝึกอบรมด้านนี้โดยเฉพาะ อย่างเช่น ที่ Fitness Innovation

4.ใบอนุญาต – การที่คุณจะประกอบธุรกิจ Fitness คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจ หรือ ใบอนุญาตการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขภาพและความปลอดภัย เรียบร้อยแล้ว เพื่อปฏิบัติตามหลักของกฎหมายให้ถูกต้อง

ทั้งนี้ผู้ดำเนินการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ต้องขอรับใบอนุญาตซึ่งมีอายุ 5 ปี จากสถาบันการศึกษาที่กรมสบส. (สนับสนุนบริการสุขภาพ) ส่วนผู้ให้บริการ ก็ต้องขึ้นทะเบียนและได้รับใบรับรองคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษาที่กรมสบส. เช่นเดียวกัน  

(สามารถหารายละเอียด และค่าธรรมเนียมการขอใบอนุญาตได้ที่นี่)

5. การปรับปรุงอาคาร – ค่าใช้จ่ายตรงนี้อาจจะไม่จำเป็นสำหรับคุณ แต่เมื่อคุณซื้อหรือเช่าอาคารเก่ามา การปรับปรุงโครงสร้างหรือตกแต่งภายในเพิ่ม ก็อาจจำเป็นสำหรับคุณ ซึ่งค่าใช้จ่ายก็จะเกิดขึ้นจาก การดีไซน์ การดำเนินการปรับปรุงใหม่ และขึ้นอยู่กับโครงสร้างของสถานที่นั้นๆ

โดยปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวชี้วัดว่า ต้นทุนการเปิด Gym ของคุณ นั้นจะมีราคาเท่าไหร่ และจะสามารถช่วยคุณคำนวณงบประมาณคร่าวๆได้นั่นเอง

สรุป

ผมเชื่อว่าใครหลายๆคนก็คงเห็นโอกาสในการเติบโตของมัน ด้วยเทรนด์สุขภาพที่มาแรง และมีแนวโน้มที่ดูจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าคุณเองเป็นกำลังคิดจะเปิด Gym บทความนี้จะสามารถช่วยคุณตอบคำถามในใจที่ว่า “ควรเริ่มต้นธุรกิจ Fitness ดีไหม ?”

นอกจากนี้มันยังจะเป็นแนวทางให้คุณเมื่อตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจนี้แล้วอีกด้วย ซึ่งถ้าว่าไปแล้วมันก็เหมือนแผนที่จะนำทางคุณในป่าที่กว้างใหญ่ และแต่ละหัวข้อก็จะเป็น Check lists เพื่อพัฒนาแผนที่ของคุณ ยิ่งถ้าลิสต์เหล่านั้นถูกติ๊กถูกไปมากเท่าไหร่ แผนที่ของเราก็จะแม่นยำมากขึ้น

แต่สุดท้ายแล้วต้องห้ามลืมว่า…

“ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการทำศึกษาแผนที่ คือช่วงก่อนที่จะเข้าป่า”